กรอบของสุขภาวะในที่ทำงานให้ดีต่อใจ (WHO : Healthy Workplace Framework

องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดแนวทางของการสร้างเสริมสุขภาวะในที่ทำงานขึ้น เพื่อผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิตและการแข่งขัยขององค์กรนั้น องค์กรจะต้องพิจารณาแนวทาง 4 ด้าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ The physical work environment หมายถึง ส่วนของสิ่งอำนวยความสะดวกในที่ทำงาน เช่น สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ อากาศ เครื่องจักร  เฟอร์นิเจอร์  ผลิตภัณฑ์  เคมี  วัสดุ และกระบวนการที่ปรากฏในสถานประกอบการ  ซึ่งมีผลกระทบต่อความปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ  ตลอดจนสุขภาวะและความเป็นอยู่ของพนักงาน  สภาพแวดล้อมทางกายภาพนับเป็นพื้นฐานของความปลอดภัยและสุขภาวะในการประกอบอาชีพ และส่งผลกระทบต่อการทำงาน  ความเจ็บป่วย  การบาดเจ็บ และอาจก่อให้เกิดการพิการหรือเสียชีวิตได้
  2. สภาพแวดล้อมทางจิตสังคม The psychosocial work environment หมายถึง องค์กร  การทำงานวัฒนธรรมองค์กร  ทัศนคติ  ความเชื่อ  ค่านิยม และการปฏิบัติ และส่งผลกระทบต่อความผาสุกของพนักงานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเครียดขึ้นได้ เช่น การขาดนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในองค์กร  ขาดการสนับสนุนรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาวะ  เป็นต้น
  3. แหล่งของสุขภาวะบุคคลในที่ทำงาน Personal health resources in the workplace หมายถึง  สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนบริการสุขภาพ  ข่าวสาร  ทรัพยากรและโอกาสที่บริษัทหรือองค์กรจัดเตรียมไว้สำหรับพนักงาน หรือสนับสนุน หรือกระตุ้นเพื่อปรับปรุง  หรือคงไว้ซึ่งวิธีปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาวะ  มีการติดตามและสนับสนุนทั้งสุขภาพทางกายและสุขภาพจิต
  4. ดูแลสภาพแวดล้อมสังคมรอบตัวของบริษัท Enterprise community involvement เป็นความเชื่อมโยงของชุมชนรอบข้างกับบริษัท เช่น กิจกรรม ทักษะ ต่างๆเพื่อสร้างความผูกพันของบริษัทกับชุมชน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ  ความปลอดภัยและความผาสุกของพนักงานและครอบครัว