การใช้น้ำเสียงในการสื่อสารให้น่าฟัง

เทคนิคการใช้น้ำเสียงในการสื่อสาร    การใช้น้ำเสียงในการสื่อสารให้น่าฟัง

        น้ำหนักของเสียง

  • มี 2 ขั้วตรงข้ามกัน คือ น้ำหนักหนัก และน้ำหนักเบา
  • เสียงที่มีน้ำหนักหนักจะแสดงความมั่นใจ หนักแน่น แสดงว่าผู้พูดมีความมั่นใจ ยืนยันชัดเจน
  • น้ำหนักเบาจะใช้สื่อสารกับผู้ฟังที่มีความเปราะบางหรือต้องการความอ่อนโยน

    โฟกัสของเสียง

  • มี 2 ขั้วตรงข้ามกัน คือ น้ำเสียงพุ่งตรง และน้ำเสียงอ้อม
  • น้ำเสียงพุ่งตรงเน้นเป้าหมายชัดเจน เหมือนผู้พูดไม่ลังเล เด็ดขาด
  • ส่วนน้ำเสียงอ้อม เหมือนกำลังโอบอุ้ม แต่โค้งซิกแซ็กไปมาจะเป็นการสร้างความสนุกสนาน

    ความกระชับของเสียง

  • มี 2 ขั้วตรงข้ามกัน คือ น้ำเสียงกระชับ และน้ำเสียงยืดถ่วง
  • น้ำเสียงกระชับใช้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไว แสดงการตัดสินใจที่เร้าให้ผู้ฟังคิดน้อย และตัดสินใจเร็วขึ้น
  • ส่วนน้ำเสียงแบบยืดถ่วงนั้นใช้ในกรณีที่ต้องการให้ผู้ฟังใช้ความคิดกับเรื่องที่กำลังจะพูด เพื่อให้ฟังอย่างทะลุรอบด้าน และใช้เวลากับความคิดมากขึ้น

    การไหลของเสียง

  • มี 2 ขั้วตรงข้ามกัน คือ น้ำเสียงไร้การควบคุม กับน้ำเสียงควบคุม
  • น้ำเสียงไร้การควบคุมจะทำให้รู้สึกเป็นกันเอง และสบาย
  • ส่วนน้ำเสียงควบคุมจะมีความเกร็ง และผู้ฟังจะรู้สึกว่าผู้พูดไตร่ตรองและเป็นทางการ
  • เสียงโทนสูง × พูดเร็ว → ดูเป็นคนร่าเริงและสดใส
  • เสียงโทนสูง × พูดช้า → ดูเป็นคนใจดีและใจกว้าง
  • เสียงโทนต่ำ × พูดเร็ว → ดูเป็นคนที่ทำงานเก่ง
  • เสียงโทนต่ำ × พูดช้า → ดูเป็นคนสงบและใจเย็น