มนุษยสัมพันธ์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในทุกสังคมทุกสาขา อาชีพ เพราะไม่ว่ามนุษย์เราจะทำการงานใด ก็ต้องอาศัยมนุษยสัมพันธ์ที่เป็นเลิศเป็นองค์ประกอบด้วยกันทั้งนั้น มนุษยสัมพันธ์นั้นถือว่าเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ อันดี เพื่อให้เกิดความรักใคร่นับถือ ความร่วมมือ ความจงรักภักดี และความสำเร็จ เพราะถือว่าเป็นกระบวนการ จูงใจคน การอยู่ร่วมกับผู้อื่นให้ได้อย่างมีความสุข และเป็นปัจจัย ที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน เกิดผลงาน และ ทำให้ทุกฝ่ายมีความพอใจ
ในเรื่องเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์นั้น คนเราจะต้องมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนว่า ทุกคนต้องเข้าใจศักดิ์ศรีของคน เพราะคนทุกคนต้องการความเคารพนับถือ และมี ศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเรื่องพฤติกรรมและแรงจูงใจที่เป็นตัวกำหนดบุคคลในแต่ละกลุ่ม การแสดงออก การรวมกลุ่ม ความสัมพันธ์ของคน เรื่องประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมทางสังคมของบุคคลและกลุ่มคนต่างๆ
เมื่อต้องอยู่รวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก โดยต่างคนมาจากต่างถิ่นต่างฐาน สิ่งแวดล้อม พื้นฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน ทุกคนจึงต้องพยายามเข้าใจถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่อง ต่างๆ ด้วย เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ทั้งชีวิตการทำงาน หรือแม้กระทั่งเรื่องส่วนตัวก็ตาม ซึ่งอยู่บนพื้นฐานสำคัญดังที่จะกล่าวต่อไปนี้คือ
1. มนุษย์มีความเหมือนกันและมีความแตกต่างกัน
อันได้แก่ มนุษย์ทุกคนมีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกัน มีความต้องการตามธรรมชาติคล้ายๆ กัน แต่ในทางตรงข้ามกันนั้นก็คือ แตกต่างกันในด้านความสนใจ ความสามารถ ความต้องการทางสังคม ศักยภาพ สติปัญญา อารมณ์ นิสัย และอื่นๆ ด้วย ซึ่งเราที่ต้องอยู่ในสังคมหรือองค์กรนั้นๆ ต้องพยายามทำความเข้าใจและปรับปรุงพฤติกรรมบางอย่างให้เข้ากับคนส่วนใหญ่ให้ ได้บ้าง
2. มนุษย์มีความต้องการของตนเอง
อันได้แก่ คนทุกคนมีความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความต้องการทางร่างกายนั้นถือว่าเป็นความต้องการพื้นฐานในด้านการดำรงชีวิต เช่น ปัจจัย 4 ต่างๆ รวมทั้งความต้องการทางด้านกามารมณ์ สำหรับความต้องการทางด้านจิตใจก็คือ หากความต้องการทางด้าน ร่างกายถูกตอบสนองเพียงพอแล้ว ก็จะเริ่มแสวงหาความต้องการเพื่อสนองทางด้านจิตใจมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นความต้องการที่สร้างขึ้นมาใหม่เกิดขึ้นทีหลัง ความต้องการประเภทนี้มักมีนัยซ่อนเร้นอยู่ ทำให้บางครั้งก็แสดงออกมาอย่างชัดเจน บางครั้งก็แสดงออกมาอย่างเสแสร้ง เราจึงต้องเรียนรู้
3. การรู้จักตนเอง
หมายถึงว่า ก่อนที่จะสร้างสัมพันธ์กับคนอื่น เราควรที่จะต้องรู้จักตนเองให้ถ่องแท้เสียก่อน รู้จักความสามารถ สมอง และบุคลิกภาพเพื่อการปรับปรุงตนเอง เข้าใจถึงนิสัยและความสามารถของตน รวมทั้งรู้ข้อบกพร่องต่างๆ ของตัวเอง เพื่อจะได้ปรับปรุง ประมาณตน รู้จักการประนีประนอม รู้จักเหตุผล เพื่อที่จะทำงานกับคนอื่นได้อย่างกลมกลืนและราบรื่น เพราะการรู้จักตัวเองเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เพราะคนที่ไม่รู้จักตัวเองก็จะไม่สามารถเข้าใจผู้อื่นได้อย่างถ่องแท้ และผู้ที่รู้จักตัวเองเท่านั้นที่จะสามารถปรับปรุงตัวเองได้เป็นอย่างดี
เป็นวิธีการถ่ายทอดข่าวสารและความ เข้าใจไปยังบุคคลอื่น การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ด้วยการพูด การฟัง การใช้ภาษาท่าทาง ภาษาร่างกาย หรือการติดต่อเป็น ลายลักษณ์อักษรด้วยเอกสารทางราชการ ผู้ที่มีทักษะในการติดต่อสื่อสารที่ดีจะก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำ งาน และมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง วิธีการสื่อสารที่ดีนั้นผู้ส่งข่าวสารต้องเลือกวิธีส่งให้ถูกต้องตรงเป้า หมายที่เราจะสื่อสารด้วย และข่าวสารที่ส่งไปนั้นจะต้องถูกต้องเหมาะสมกับผู้รับที่เราต้องการจะสื่อ สารด้วย ทั้งสองฝ่ายจึงต้องพยายามเข้าใจ และเคารพในสิ่งที่จะสื่อสารถึงกันอย่างให้เกียรติ ไม่ดูถูก ตำหนิ รู้จักเลือกเวลาในการสื่อสารที่ถูกต้อง รวมทั้งให้ความร่วมมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อความ เข้าใจที่ดีต่อกัน
5. การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
เพราะคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ทั้งระดับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้คับบัญชา จะทำให้งานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างรวดเร็ว เพราะการที่เราเป็นคนเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักให้เกียรติและเคารพสิทธิของผู้อื่น เคารพการตัดสินใจหรือความคิดเห็นของ คนอื่น จะสามารถชนะใจเพื่อนร่วมงานได้โดยง่าย วิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นนั้น เราต้องเข้าใจถึงวิธีการติดต่อ สื่อสารและวิธีการจูงใจ เพื่อให้มิตรภาพนั้นเป็นไปด้วยดีตามที่ ต้องการ
6. การจูงใจ
ในการที่จะสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น จนกระทั่งก่อให้เกิดพฤติกรรมในรูปแบบที่เราต้องการให้เกิด การคล้อยตาม การจูงใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อที่จะกระตุ้นเร้า ให้เกิดการตอบสนองมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ให้เกิดการยอมรับ ซึ่งแรงจูงใจเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่เรา ต้องการนั้น ควรที่จะให้ผู้ถูกจูงใจได้รับความพอใจด้วย
7. การบริหารงานนั้นการจูงใจอาจทำได้ด้วยการจัดงานที่เหมาะสม
ให้มีการร่วมกันทำงานเป็นทีม การกระจายอำนาจ หน้าที่ความรับผิดชอบ บุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะสามารถเป็นผู้ที่สร้างแรงจูงใจได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นคนที่ได้รับการยอมรับมากกว่าผู้อื่นอยู่แล้ว ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่รู้จักการสร้างแรงจูงใจและนำมาใช้ในการบริหารงานแทนการออกคำสั่งหรือ การลงโทษ ย่อมสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้เช่นกัน
สร้างได้จาก มนุษยสัมพันธ์ 10 ประการ
ทั้งหมดที่กล่าวไปแล้วนั้นเป็นการมีมนุษยสัมพันธ์ของบุคคล ที่อยู่ระหว่างเพื่อนร่วมงาน แต่ในส่วนของหัวหน้างานนั้นควรที่จะมีมนุษยสัมพันธ์ให้มากยิ่งกว่า เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือ เต็มใจยอมรับเพื่อให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างราบรื่น ไม่มีคลื่นใต้น้ำคอยก่อกวน คือ
1. ยิ้มกับคนที่ต่ำกว่าและสูงกว่า
2. ทักทายปราศรัยกับบุคคลทั่วไป
3. แสดงความเป็นกันเอง ให้ความช่วยเหลือ
4. เรียกชื่อ จดจำได้อย่างแม่นยำ
5. พูดและกระทำการต่างๆ ด้วยใจจริง
6. รู้จักรับฟังให้ความสนใจในสิ่งที่คนอื่นพูดเสมอ
7. มีเมตตาธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
8. รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
9. พร้อมที่จะให้บริการแก่ผู้อื่นอยู่เสมอ
10. พยายามชอบและให้ความสนใจคนอื่นมากๆ อย่าเอา ตัวเองเป็นที่ตั้งในทุกเรื่องราว
ทั้งหมดที่กล่าวไปแล้วทั้ง 10 ข้อนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ หัวหน้าที่ดีควรมี เพราะมนุษยสัมพันธ์ที่ดีไม่เพียงแต่จะสร้าง ความสุขในองค์กรของตนเองแล้ว ทั้งเพื่อนร่วมงาน ตัวเอง และลูกน้อง ก็จะเกิดความรักใคร่ ไมตรีจิตที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ ที่ทำงานร่วมกันนั้นถือว่าเป็นสัมพันธภาพที่มีคุณค่า ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขทั้งปัจจุบันและอนาคต
ที่มา : Post Today