State Enterprise Assessment Model: SE-AM – ที่ปรึกษาการประเมินผลรัฐวิสาหกิจ ด้านแผนเม่บทการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อองค์กรที่ยั่งยืน

State Enterprise
Assessment Model: SE-AM
ที่ปรึกษาการประเมินผลรัฐวิสาหกิจ
ด้านแผนเม่บทการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อองค์กรที่ยั่งยืน

      องค์กรรัฐวิสาหกิจ ต้องเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization) อีกทั้งในด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนการเป็นองค์กรที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ตามมาตรฐานการประเมินองค์กรโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ดังนั้น เพื่อให้สามารถยกระดับสู่เป้าหมาย จึงจำเป็นต้องพัฒนา/ ทบทวนการกำกับดูแลกิจการที่ดี ให้ทันต่อสถานการณ์ในประเทศ และสภาพแวดล้อมในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ โดยที่ผ่านมา โดยต้องมี แผนแม่บทการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีประสิทธิภาพมากขึ้น และนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย

วัตถุประสงค์โครงการ

1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ทบทวนแผนแม่การกำกับดูแลกิจการที่ดี

2) เพื่อจัดทำแนวทางในการขับเคลื่อนการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นองค์กรที่ตอบสนองกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินภารกิจ รวมถึงนโยบายที่สร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้

3) เพื่อทบทวนแผนการปฏิบัติงาน จากแผนแม่บทการกำกับดูแลกิจการที่ดี


ขอบเขตการดำเนินงาน

1) ทบทวนแผนแม่บทการกำกับดูแลกิจการที่ดี 

2) ศึกษาข้อมูลแผน, ยุทธศาสตร์, โครงการ, เกณฑ์รางวัลที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีของประเทศไทย เพื่อนำมาพัฒนาแผนแม่บทการกำกับดูแลกิจการที่ดี จาก

a) ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 

b) แนวทางโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) 

c) หลักการและแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ ของสำนักงาคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)

d) ข้อมูลสภาพแวดล้อมองค์กร โดยสามารถสรุปจุดแข็ง จุดอ่อน ความท้าทาย ปัญหาอุปสรรคจากแหล่งข้อมูล ดังต่อไปนี้ แผนวิสาหกิจ รายงานผลการดำเนินงาน แผนแม่บทการกำกับดูแลกิจการที่ดี  ผลการประเมินการสื่อสารภายใน แผนกลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กร และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3) จัดทำแนวทางและแผนปฏิบัติการประจาปี 2565 ตามโครงการทบทวนแผนแม่บทการกำกับดูแลกิจการที่ดี และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1) การขับเคลื่อนการปฏิบัติงานตามแผนทบทวนแม่บทการกากับดูแลกิจการที่ดีจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2) ได้แนวทางการขับเคลื่อนการกากับดูแลกิจการที่ดีเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

3) ได้แผนการปฏิบัติงานราย จากแผนแม่บทการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ตัวอย่างองค์กรที่เคยให้คำปรึกษาแนะนำ